หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง
Agriculture & Cooperatives Executive Program
หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง
Agriculture & Cooperatives Executive Program
หลักสูตรเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืนโดยมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพ สร้างผู้นำระดับสูงให้มีความรู้ ความสามารถ ด้านการพัฒนาการเกษตร รวมทั้งก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ ระหว่างผู้นำ ทั้งภาครัฐ เอกชนและภาคประชาชน ในรูปแบบ “ประชารัฐ” มุ่งสู่การเกษตรวิถีใหม่
MODULE 1
Agriculture & Cooperatives Lanscape
ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับระบบการเกษตรและสหกรณ์ระดับโลก รวมถึงการบริหารการเกษตรมหภาค (Macro) ให้กับผู้บริหารระดับสูง เพื่อให้เกิดเสถียรภาพในระบบเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงระหว่างการเกษตร เศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ
ประกอบด้วย
1.1 Agricultural Landscape (Case study EEC and more)
โครงสร้างภูมิภัศน์ทางการเกษตรอย่างเป็นระบบ วางแผน บริหารจัดการภูมิทัศน์ทางด้านการเกษตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก รวมถึงระบบที่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของเกษตรกร ตลอดจนเน้นการใช้เทคนิคที่เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธรรมชาติ เพื่อเพิ่มผลผลิต พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา
1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ I3 การขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจ และสังคมไทยกับภาคการเกษตร อย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2564 ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ และ 15 แนวทางนโยบายหลักรูปธรรมของนโยบายและแนวทางหลัก ปัจจัยแห่งความสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิต พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา
1.3 เศรษฐกิจ และการลงทุนในภาคการเกษตร
แนวโน้มระบบการเกษตรและสหกรณ์ระดับโลก การบริหารจัดการการเกษตรเพื่อให้เกิดความเสถียร ในระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงระหว่างการเกษตร เศรษฐกิจและการเติบโตของประเทศ บทบาทสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแบบบูรณาการเพื่อสร้างความมั่นคงในด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน
1.4 กฎหมายด้านการเกษตร โอกาส อุปสรรค ความท้าทาย
เข้าใจกฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องด้านการเกษตร และสามารถวิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค โอกาส และความท้าทาย ในการกำหนดนโยบายด้านการเกษตรตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อตอบสนอง ความต้องการขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.5 Vision from Leader : Green city เมืองสีเขียว
การออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ประชากรมีความตระหนัก และ มีจิตสำนึกร่วมกันถึงระบบนิเวศและดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพา การใช้ทรัพยากร ทั้งพลังงาน อาหารและน้ำ รวมไปถึงลดการปลดปล่อยของเสีย ทั้งในรูปของความร้อนและมลพิษต่างๆ ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองและไม่จำป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก สามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นในพื้นที่เมือง
MODULE 2
AGRICULTURE MARKET MECHANISM
อธิบายระบบนิเวศของการตลาดการเกษตร และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เห็นบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนทั้งในส่วนภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน และกลไกตลาดที่สอดประสานกัน เพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตร และชีวิตเกษตรกร โดยการใช้ความร่วมมือภาคการเกษตร เพื่อให้ธุรกิจเติบโต และมีประสิทธิภาพ ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจการเกษตร รวมทั้งการกำกับดูแล และการบังคับใช้กฎหมายในภาค การเกษตรและสหกรณ์
ประกอบด้วย
2.1 World Ag-Market, Trend and Trade, Non-Tariff Barrier
เทรนด์ตลาดเกษตรระดับโลก เข้าใจกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ องค์กรการค้าระหว่างประทศ เพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรและชีวิตเกษตรให้มีคุณภาพ และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
2.2 การขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมการเกษตรด้วยภาคเอกชน
การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2564 ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ และ 15 แนวทางนโยบายหลักรูปธรรมของนโยบายและแนวทางหลัก ปัจจัยแห่งความสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มผลผลิต พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา
2.3 ธนาคารและองค์กรเฉพาะกิจ ในการสนับสนุนต่อยอดธุรกิจเกษตรและอาหาร
การลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารสู่อนาคต โดยสร้างโอกาสของผู้ประกอบการไทยตลอดทั้ง SUPPLY CHAIN เพื่อผลักดันผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพให้บุกตลาดต่างแดนมากขึ้นการเป็นศูนย์บริการครบวงจรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศให้แก่ SMES การเสริมสภาพคล่องและศักยภาพของผู้ประกอบการในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร รองรับการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร
2.4 E-Commerce กับภาคการเกษตรไทย: Get insight from China growth hacking สู่การพัฒนาประเทศไทย
DIGITAL ECONOMY กับการพัฒนาภาคเกษตรไทย การเชื่อมโยงผู้ประกอบการเกษตรไทยสู่ โลกตลาดออนไลน์ เพื่อยกระดับ E-COMMERCE ของประเทศไทย การส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเท่าเทียมระหว่างผู้ประกอบการค้าออนไลน์ในไทยและต่างประเทศ โดยการผลักดัน ภาคเศรษฐกิจไทยด้านดิจิทัล ภายใต้ความร่วมมือและสนับสนุนจากพันธมิตรทุกภาคส่วน
MODULE 3
TECHNOLOGY AND INNOVATION
การตระหนักถึงโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และการแข่งขัน ทั้งภาวะเศรษฐกิจและสังคม ที่ทำให้การสร้างโอกาส และการเกิดวิกฤติ ความผันผวน หรือที่เรียกว่า VUCA World กลายเป็นเรื่อง New Normal ของทุกภูมิภาคทั่วโลก จึงจำเป็นต้องแสวงหาเครื่องมือ และนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของต้นน้ำ และปลายน้ำ ในการรับมือและเติบโตไปกับ Technology Disruption พร้อมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้ธุรกิจการเกษตรหน่วยงานต่าง ๆ มีการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มศักยภาพนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต
3.1 HOW TRUE DIGITAL DRIVE INNOVATION FOR OUR COUNTRY
สภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อทักษะการสร้างความสัมพันธ์ EQ และการจัดการอารมณ์แบบมืออาชีพ การคิดเชิงบวก ความสามารถในการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์ แนวคิดและความสำคัญของการสร้างและพัฒนาทีมงาน เทคนิคการสร้างความรัก และความผูกพันของคนในองค์กรและการพัฒนาตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการทำงาน แนวทางการออกแบบกิจกรรมสร้างความสามัคคีในองค์กร
3.2 DIGITAL TRANSFORMATIN เพื่อเปลี่ยนเป็น "เกษตรดิจิทัล"
การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร โดยการนำแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน สตาร์ทอัพและกลุ่มเกษตรกร เทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ การบริหารจัดการฟาร์ม เซ็นเซอร์ และระบบ IOT ระบบการจัดการฟาร์มแบบใหม่ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวขนส่งและตรวจสอบย้อนกลับ ตลาดการเกษตรด้วยธุรกิจค้าปลีก/ส่ง ออนไลน์ เพื่อสร้างสังคมแห่งโอกาส การสร้างสรรค์สังคมเกษตรด้วยนวัตกรรม
3.3 SMART AGRICULTURE
การประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนรูปแบบการทำงานเชิงความร่วมมือภายใต้โครงการต่างๆ ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (SMART AGRICULTURE) ที่ผ่านการวิจัยและพัฒนา ไปสู่การใช้ประโยชน์ ทั้งในรูปแบบการบริการงานวิจัย
การบริการวิชาการแก่สังคม และการใช้ประโยชน์เชิงพานิชย์ประสานประโยชน์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
3.4 COMMERCE กับภาคการเกษตรไทย GET INSIGHT FROM CHINA GROWTH HACKING
สู่การพัฒนาประเทศไทยการบริหารความขัดแย้ง คือกระบวนการแก้ไขข้อพิพาทที่ยังหาข้อยุติไม่ได้ เพื่อลดผลลัพธ์เชิงลบที่อาจเกิดขึ้นและสร้างโอกาสสำหรับผลลัพธ์เชิงบวกมาแทนที่ ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่สองตัวแปรขึ้นไป โดยความขัดแย้งในองค์กรเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ทุกหน่วยงานต้องจัดการ การบริหารความขัดแย้งจึงเกิดขึ้นมาเพื่อรับมือสถานการณ์นั้นๆ ในรูปแบบและความหลากหลายที่แตกต่างกันไป
MODULE 4
CURRENT ISSUE FOR AGRICULTURE DEVELOPMENT
นำประเด็นสำคัญและมีความน่าสนใจในสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการเกษตรนำมาอภิปราย และแสดงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ไทยให้สามารถเติบโตและเจริญก้าวหน้ามากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในวงการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน รวมถึงการวางแผนอนาคตของภาคเกษตรไทย เพื่อฟื้นเศรษฐกิจไทยสู่ความมั่นคงมั่งคั่ง และยั่งยืน ตามหลักการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ BCG ไปพร้อมกัน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืน ของสหประชาชาติ
4.1 BCG และการขับเคลื่อน THE SECOND GREAT REFORM
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดย การกระจายโอกาส การกระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.2 GREEN BUSINESS
ธุรกิจที่เป็นมิตรต่อโลกหรือธุรกิจสีเขียว (Green Business) เทรนด์ที่อุตสาหกรรมทั่วโลกกำลังปรับสู่ New Business Model บริหารทุกทรัพยากรให้ถูกใช้ไปอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจด้วยมีภาพพจน์ที่เป็นมิตรที่ดีต่อสังคม
4.3 VISION FROM LEADER : การขับเคลื่อนภาคการเกษตรสู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน
ความท้าทายในอนาคตกับการพัฒนานวัตกรรมเกษตร รูปแบบของธุรกิจในปัจจุบัน กระบวนการในการสร้างธุรกิจ หรือการขับเคลื่อนภาคการเกษตรสู่ธุรกิจอย่างยั่งยืน
4.4 BIG DATA สศก. พัฒนาเครื่องมือเนวิกเตอร์ภาคเกษตร "ส่วนการพัฒนาการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมผ่านระบบ NATIONAL SINGLE WINDOW (NSW)"
ระบบการบริการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (G2G,G2B และ B2B) สำหรับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิกอาเชียน และประเทศในภูมิภาคอื่นๆ
4.5 VISION FROM LEADER : การจัดการภัยพิบัติในพื้นที่
แนวทางการบริหารจัดการภัยพิบัติ โดยอาจเกิดจากธรรมชาติ หรือมีผู้กระทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตราย การจัดการในภาวะภัยพิบัติ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ แต่สามารถยืดหยุ่นหรือเปลี่ยนแปลงได้ตาม เวลาและสถานการณ์ ครอบคลุมการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้ และช่วยลดผลกระทบจากความรุนแรงได้
4.6 VISION FROM LEADER : GREEN CITY เมืองสี่เขียว
การออกแบบเมืองโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ประชากรมีความตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกัน ถึงระบบนิเวศ และดำเนินชีวิตบนแนวคิดของความยั่งยืน เพื่อลดการพึ่งพาการใช้ทรัพยากร ซึ่งจะทำให้เป็นเมืองที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเอง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรจากพื้นที่ภายนอก สามารถสร้างพลังงานได้เองจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่
MODULE 5
RESEARCH FOR THE FUTURE
เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) เป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสำคัญและตื่นตัวเป็นอย่างมาก ในภาคการเกษตรก็เช่นกัน Module นี้ จะแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) รวมถึงการมีจิตอาสาที่เป็นจิตสำนึกในการทำประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนา การเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปัญหาหรือวิกฤติต่าง ๆ ภายใต้สภาพแวดล้อมของโลกในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน โดยการเรียนรู้จากผู้นำต่าง ๆ ที่เป็น Role Models ทั้งในวงการเกษตรและวงการอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ และสามารถนำไปสู่การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การอภิปราย เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ รวมทั้งข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการสร้าง Agriculture and Cooperatives Leaders (ACL) ที่มีความพร้อมทั้งความรู้ เครือข่าย และจิตอาสาในการสร้างประโยชน์ให้สังคมในภาพรวมอย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน ทั้งในประเทศไทยและระดับภูมิภาค
5.1 สวก. การนำผลงานไปใช้ประโยชน์
การพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เกิดความก้าวหน้าและความได้เปรียบทางด้านการเกษตร แนวคิด นโยบายทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมทางการเกษตรของประเทศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม การบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงตัวอย่างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทั้งภาครัฐ และเอกชนที่มีการใช้ประโยชน์จริงทั้งในเชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์
5.2 Visual Storytelling for research Proposal Development
มุมมองและกระบวนการสร้างโจทย์วิจัยที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศ แนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย และตัวอย่างข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรมทางด้านการเกษตร
5.3 กิจกรรมระดมความคิดสร้างนโยบายการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน AGRICULTURE POLICY HACKATHON
ระดมความคิดข้อเสนอโครงการวิจัยที่นำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายภาคการเกษตร และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน กิจกรรมเขียนร่างข้อเสนอโครงการ สร้างนโยบายการเกษตรไทยอย่างยั่งยืน
5.4 Agriculture Policy Hackathon
เขียนร่างข้อเสนอโครงการวิจัยที่นำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายภาคการเกษตร และนำเสนอแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน
MODULE 6
LEADERSHIP AND SUSTAINABILITY
Module นี้ จะแสดงให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของภาวะความเป็นผู้นำ รวมถึงการมีจิตอาสาที่เป็นจิตสำนึกในการทำประโยชน์ส่วนรวม โดยเรียนรู้จากผู้นำต่าง ๆ ที่เป็น Role Models ทั้งในวงการเกษตรและวงการอื่น ๆ
6.1 Vision from Leader : โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนภาคเกษตรตามศาสตร์พระราชา การปรับยุทธศาสตร์บนฐานการปรับโครงสร้างการปฏิรูปประเทศ ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคีภาคส่วนทั้งในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในทุกขั้นตอนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การน้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม
6.2 Vision from Leader : From Now to the Next
มุมมองของธุรกิจกาคเอกชน ต่อการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรและอาหาร องค์ประกอบและปัจจัยด้านโอกาส ความท้าทายในอนาคต การเตรียมพร้อมผู้นำในการบริหารจัดการองค์กร เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
6.3 Vision for Leader : BCG Transformation
โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ยกระดับมูลค่าของห่วงโซ่การผลิต ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของสินค้าและบริการมูลค่าสูง (VALUE-BASED ECONOMY) การกระจายรายได้และโอกาส แบบทั่วถึง (INCLUSIVE GROWTH) การรักษาสมดุลเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน (GREEN GROWTH) ส่งเสริมและพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของสินค้าและบริการมูลค่าสูง และสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
6.4 Vision from Leader : เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในภาคอุตสาหกรรม การเกษตร
เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGS (SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS) เพื่อให้สอดคล้องตามบริบทและมาตรฐานสากล มุมมองการเปลี่ยนแปลงธุรกิจภาคเอกขนกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หลักการปฏิบัติตามแนวกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาในการคิดค้นนวัตกรรมธุรกิจเกษตรที่สร้างประโยชน์ และการเจริญเติบโตควบคู่กับการสร้างผลกำไรของธุรกิจอย่างยั่งยืน
6.5 เกษตรสมัยใหม่ เกษตรทันสมัย ขับเคลื่อนอย่างไรในภาคเอกชน
ยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศักยภาพเกษตรไทย แนวทางการขับเคลื่อนภาคเอกชน เป้าหมาย การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ผลิตและเกษตรกร เกษตรแห่งอนาคต อาหารแห่งอนาคต และกรณีศึกษา
6.6 Vision from Leader : บริหาร 'น้ำ' บริหาร 'คน'
พัฒนาทักษะ สมรรถนะ สร้างวิสัยทัศน์การเป็นผู้นำ เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการน้ำ และการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อพัฒนาบุคลากรในการขับเคลื่อนงานอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมในการพัฒนาประเทศในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
6.7 นวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ
การขับเคลื่อนเมืองด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ การวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสู่ความยั่งยืน